หน้าแรก

ย้อนอดีตไปเมื่อปี พ.ศ. 2526 ไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด 8 บิต เริ่มแพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทย เนื่องจากเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาไม่แพงนัก (ของเลียนแบบประมาณ 25,000 บาท) สามารถนำไปใช้ตามบริษัท ห้างร้าน หรือตามบ้านได้สะดวกไม่ต้องติดเครื่อง ปรับอากาศให้ก็สามารถทำงานได้ วิทยาลัยครูเพชรบุรี (สถานะขณะนั้น) โดยท่านอธิการ ดร.วรชัย เยาวปาณี เล็ง เห็นความสำคัญทั้งการนำมาใช้งาน และด้านการเรียนการสอน จึงได้ นำมาทดลองใช้กับงานบริหารและบริการของวิทยาลัย งานที่สำคัญงานหนึ่งที่มีชื่อเสียงคือ ระบบงานทะเบียนนักศึกษาวิทยาลัย ขณะเดียวกันได้เชิญวิทยากรมาฝึกอบรมให้กับอาจารย์ ที่สนใจ หัวข้อที่ฝึกอบรมครั้งแรก คือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และการเขียน โปรแกรมภาษาเบสิก จำได้ว่าครั้งแรกมีอาจารย์เข้ารับการอบรมประมาณ 20 คน เมื่อการอบรม เข้าสู่การเขียนโปรแกรมภาษาเเบสิกหลายท่านค่อย ๆ หายไปจนสุดท้ายเหลืออยู่ประมาณ 6-7 คนหลังจากการอบรมแล้วท่านอธิการมีนโยบายให้เปิดสอนหลักสูตร ป.กศ.สูง(เทียบเท่าอนุปริญญา) และ ค.บ. 2 ปี หลังอนุปริญญา วิชาเอกคอมพิวเตอร์ ท่านได้มาช่วยดาเนินการในการจัดทาหลักสูตรทั้งสองหลักสูตร โดยเสนอให้กรมการฝึกหัดครูแต่งตั้งกรรมการร่าง หลักสูตร ป.กศ.สูง และ ค.บ.วิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษา จัดทาฉบับร่าง ณ วิทยาลัยครูเพชรบุรี มีอาจารย์ของเราเป็นผู้ดาเนินการ และเชิญผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านคอมพิวเตอร์มาร่วมให้ข้อคิดเห็น และเสนอแนะ กรรมการดังกล่าวตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2526 กรรมการท่านหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเสียงและเป็นที่ ยอมรับในวงการคอมพิวเตอร์ขณะนั้น คือ รศ. สมชาย ทยานยง จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งแรกท่านไม่ค่อยเห็นด้วยกับการสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ เพราะนักศึกษาจะไม่ได้เห็นกระบวนการทั้งหมดของคอมพิวเตอร์ เช่น เรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ขณะนั้นยังไม่มีระบบแลนเหมือนปัจจุบัน) แต่ด้วยความตั้งใจดีของกรรมการหลายท่าน เช่น ดร.โกวิท ประวาลพฤกษ์ ดร.ณรงค์ บุญมี ที่ มองเห็นความสาคัญของคอมพิวเตอร์ และความจาเป็นที่จะต้องผลิตบัณฑิตสายครูด้านคอมพิวเตอร์เพื่อรองรับความต้อง การของประเทศชาติ ท่านจึงไม่ได้คัดค้าน เพียงแต่ให้ ข้อเสนอแนะในการทางานต่อไป กรรมการทรงคุณวุฒิท่านอื่นๆ ส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับร่าง หลักสูตร ป.กศ.สูง และ ค.บ. 2 ปี วิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษา ในที่สุดสภาการฝึกหัดครูจึงได้อนุมัติหลักสูตร เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2527 (ดร .จารึก ชูกิตติกุล รองอธิการบดีฝ่ายวางแผน และพัฒนา เป็นผู้นำหลักสูตรเข้าชี้แจงในสภาการฝึกหัดครู ซึ่งเป็นครั้งแรกที่วิทยาลัยครูเสนอหลักสูตรเอง แทนที่จะเป็นหน่วยศึกษานิเทศก์ร่างและเสนอให้ ซึ่งก็เกิดขึ้นได้จากการสนับสนุนของท่านอธิบดีกรมการฝึกหัดครู นายพะนอม แก้วกำเนิด ในสมัยนั้น) แต่ท่านนายกสภาการฝึกหัดครู (นายสมาน แสงมะลิ) ได้ขอให้เปลี่ยนชื่อจาก “คอมพิวเตอร์ศึกษา” เป็น “คอมพิวเตอร์ ” และ ก.พ. ได้ตีค่าเงินเดือนให้ตามคุณวุฒิที่ได้รับ วิทยาลัยครูเพชรบุรี จึงเป็นวิทยาลัยครูแห่งแรกที่ริเริ่มร่างหลักสูตรคอมพิวเตอร์และเปิดสอนหลัก สูตรของตนเองคือ ป.กศ.สูง วิชาเอกคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรกเมื่อปีการศึกษา 2527 และนักศึกษารุ่นนี้ได้เรียนต่อ ค.บ.(คอมพิวเตอร์) อีก 2 ปีหลังจบ ป.กศ.สูง จนจบการศึกษาเป็นรุ่นแรกอย่างมีคุณภาพ จุดมุ่งหมายที่สาคัญของหลักสูตร ป.กศ.สูง เพื่อให้นักศึกษามีความสามารถสอนวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้อย่างน้อยระดับ มัธยมศึกษา หลักสูตร ค.บ.สามารถสอนได้สูงขึ้นใน ระดับอาชีวศึกษา หรือสูงกว่าได้ สามารถสร้างโปรแกรมช่วยสอนได้ ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ที่ใช้คอมพิวเตอร์ และสามารถพัฒนาโปรแกรมได้ สุดท้ายให้มีเจตคติที่ดีในการทางานและสามารถนาคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยปฏิบัติงานอย่างมีระบบ เมื่อวิทยาลัยมีนโยบายที่แน่นอนว่าจะต้องเปิดสอน ป.กศ.สูง ให้ได้ในปีการศึกษา 2527 จึงมีปัญหาบางอย่างตามมากล่าวคือ Read more
Print Friendly, PDF & Email
Facebooktwitter