สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

ประธานสาขาวิชา อาจารย์ ดร.พีรศุษย์ บุญมาธรรม
  • email: pheerasut.boo@mail.pbru.ac.th

ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย:  หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of  Science Program in Computer Science
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร:  ไม่น้อยกว่า 121 หน่วยกิต
การจัดการศึกษา:  เปิดสอนภาคปกติ
ระยะเวลาตลอดหลักสูตร:  4 ปี (8 ภาคการศึกษา)
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร:   112,000บาท (ภาคการศึกษาละ 14,000  บาท)
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
  • สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า 
ตัวอย่างรายวิชา
  • สถาปัตยกรรมและองค์ประกอบคอมพิวเตอร์
  • ระบบปฏิบัติการ
  • ระบบจัดการฐานข้อมูล
  • การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • วิศวกรรมซอฟต์แวร์
บัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ทำงานอะไรได้บ้าง
  • นักวิชาการคอมพิวเตอร์
  • นักพัฒนาโปรแกรม
  • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานทางด้านคอมพิวเตอร์
  • นักออกแบบฐานข้อมูลหรือผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ใช้เทคโนโลยีอย่างมีจรรยาบรรณ  สร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยวิทยาการคอมพิวเตอร์
ความสำคัญของหลักสูตร
      สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตบัณฑิตหลักสูตรต่าง ๆ ที่ปรากฏในแต่ละมหาวิทยาลัย ถ้าเป็นหลักสูตรในกลุ่มเดียวกัน ไม่ว่าผู้เรียนจะศึกษาที่สถาบันใด ๆ ก็ควรมีความเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อประโยชน์แก่ผู้ศึกษาตามถิ่นต่าง ๆ ของประเทศ ให้มีการรักษาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาระดับปริญญาตรี ดังนั้น หลักสูตรสาขาคอมพิวเตอร์เป็นหลักสูตรแรกที่มีการกำหนดมาตรฐานและปรากฏในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2552 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นหนึ่งในหลายสาขาที่มีการกําหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาหรือ มคอ.1 ที่ครอบคลุมทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติตั้งแต่ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เครือข่ายข้อมูลและบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องประสมศาสตร์ต่าง ๆ เช่น ศิลปะศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์เป็นต้น โดยมีการจัดขอบเขตองค์ความรู้ 5 ด้านหลัก คือ 1) ฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ 2) โครงสร้างพื้นฐานของระบบ 3) เทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ 4) องค์การและระบบสารสนเทศ และ 5) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานประยุกต์ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานสากล The Association for Computing Machinery (ACM), The Association for Information Systems (AIS) a The Institute of Electrical and Electronics Engineer Computer Society (IEEE-CS) และมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ 6 ด้าน คือ 1) คุณธรรม จริยธรรม 2) ความรู้ 3) ทักษะทางปัญญา 4) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และ 5) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1) เพื่อผลิตบัณฑิตนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ สร้างสรรค์การพัฒนาซอฟต์แวร์และบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลให้เกิดเป็นนวัตกรรมเชิงบูรณาการให้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างมีคุณภาพ
2) เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ประดิษฐ์ และพัฒนางานใหม่ ๆ ทางด้านคอมพิวเตอร์ พร้อมที่จะประกอบอาชีพในหน่วยงานต่าง ๆ หรือประกอบอาชีพอิสระที่ใช้ องค์ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ได้อย่างทันสมัย
3) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะในการค้นคว้าใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต
4) เพื่อผลิตบัณฑิตวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มีจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ
 
Print Friendly, PDF & Email
Facebooktwitter