สาขาคอมพิวเตอร์ (ค.บ.)

ประธานสาขาวิชา อาจารย์ จ.ส.อ.หญิง จุฑาภรณ์ ชาตินฤมาณ
  • email: thjutaporn.cha@mail.pbru.ac.th

ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย:  หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of  Education Program in Computing
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร:  ไม่น้อยกว่า 133 หน่วยกิต
การจัดการศึกษา:  เปิดสอนภาคปกติ
ระยะเวลาตลอดหลักสูตร:  4 ปี (8 ภาคการศึกษา)
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร:   128,000บาท (ภาคการศึกษาละ 16,000  บาท)
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
  • สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า 
ตัวอย่างรายวิชา
  • ความเป็นครูในสังคมยุคใหม่
  • นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
  • สถาปัตยกรรมและการซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์
  • การจัดการสารสนเทศและระบบฐานข้อมูล
  • การออกแบบและพัฒนาเกมเพื่อการศึกษา
บัณฑิตสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ทำงานอะไรได้บ้าง
  • ครูสอนวิขาคอมพิวเตอร์
  • เจ้าหน้าที่ผลิตสื่อการสอน
  • นักฝึกอบรมคอมพิวเตอร์
  • รักวิชาการด้สนคอมพิวเตอร์

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ผลิตครูสอนคอมพิวเตอร์ที่มีความรู้ มีทักษะ มีวินัย และจรรยาบรรณวิชาชีพครู
ความสำคัญของหลักสูตร
       คอมพิวเตอร์เป็นสาขาหนึ่งที่เป็นที่ต้องการในสถานศึกษาต่าง ๆ และของครุสภา ในปัจจุบันไม่เฉพาะแต่การทำงานในองค์การธุรกิจ แต่รวมถึงจึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการทำงานการเรียน การสอน การจัดการเรียนการสอนสมัยใหม่ของเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีเครือข่ายสังคม (social network technology) เทคโนโลยีการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (cloud computing technology) และเทคโนโลยีของอุปกรณ์พกพา (mobile Computing technology) ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน และผู้สอนในยุคดิจิทัล (digital age)และการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21 century learning) ที่ต้องอาศัยความมุ่งมั่น ใฝ่รู้ในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องของผู้ใช้งานเทคโนโลยีในปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรครุศาสตร์ สาขาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาไทย และเน้นไปที่การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียน การสอน ซึ่งในยุคดิจิทัลการเป็นผู้ประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์อาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการโปรแกรมหรือสื่อการเรียนการสอนที่มีความหลากหลายของผู้เรียนเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมโดยการจะเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการเขียนโปรแกรมได้ที่จำเป็นต้องอาศัยศาสตร์ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่เป็นการศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎี และอัลกอริธึมของการพัฒนาฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์นอกจากนี้การรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียน การใช้ภาษาอังกฤษจึงเป็นสิ่งจำเป็นเป็นอย่างยิ่งจากเหตุผลดังกล่าวเบื้องต้นหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จึงเป็นหลักสูตรที่มีอัตลักษณ์เฉพาะที่เป็นหลักสูตรผลิตครู (ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญา
ตรีสาขาครุศาสตร์) ที่บูรณาการร่วมกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (มคอ.1 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์) ที่นอกเหนือจากการพัฒนาความรู้ และทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์แล้ว ยังมุ่งส่งเสริมการคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ โดยใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งจะทำให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในประเทศไทย ในการสร้าง การใช้ การจัดการเรียนการสอน ด้วยคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสมกับความเจริญก้าวหน้าและสอดคล้องกับค่านิยมหลักของคนไทย เพิ่มศักยภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ และตอบสนองตามกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2565) แผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันตก และแผนยุทธศาสตร์จังหวัดเพชรบุรี และยังสามารถประกอบอาชีพในประเทศของกลุ่มประชาคมอาเซียนได้อีกด้วย
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1 เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านการสอน สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องกับสภาพสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของประเทศ
2 เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตรทางด้านการเรียนการสอนการสอนที่จะส่งผลให้ครู มีความรู้ความสามารถ สมรรถนะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของการศึกษาของชาติ
3 เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความรับผิดชอบสูงต่อวิชาการและวิชาชีพ มีความอดทน ใจกว้าง และมีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพครู อย่างมีคุณภาพ และเป็นไปตามสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพครู
4 ความรอบรู้ด้านการจัดการเรียนการสอน สามารถประยุกต์ความเข้าใจอันถ่องแท้ในทฤษฎีและระเบียบวิธีการศึกษาวิจัย เพื่อสร้างความรู้ใหม่สำหรับการประกอบวิชาชีพหรือการศึกษาในระดับสูงขึ้นในอนาคต
5 มีศักยภาพที่จะพัฒนางานในหน้าที่ และเส้นทางวิชาชีพให้มีความก้าวหน้าเป็นผู้นำทางวิชาการ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานหน้าที่ครูได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 
Print Friendly, PDF & Email
Facebooktwitter