หลักการและเหตุผล
ภาคเกษตรของประเทศไทย เป็นภาคการผลิตที่มีประชากรมากกว่า 50 เปอร์เซนต์ของประชากรทั้งหมดของประเทศ ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศยังทำการเกษตรด้วยแรงงานคน และสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสูงสังคมผู้สูงอายุ แต่ในขณะเดียวกันภาคการเกษตรที่เป็นภาคการผลิตที่สำคัญและมีประชากรจำนวนมากที่สุดประกอบอาชีพเกษตรนั้น ยังคงต้องใช้แรงงานคนเป็นหลักในการผลิต ทั้งที่แรงงานภาคการเกษตรขาดแคลน ทำให้ต้นทุนในการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ผลผลิตทางการเกษตรของประเทศราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่งขัน ทำให้เกิดปัญหาผลผลิตราคาตกต่ำตามมาเป็นลูกโช่
ซึ่งแนวทางที่ทำให้เกษตรกรสามารถพึงพาตนเองได้และลดภาระค่าใช้จ่ายอีกทั้งสามารถเพิ่มรายได้ ในปัจจุบัน เทคโนโลยีดิจิตอล อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบอินเตอร์เน็ตได้ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว และราคาลดลงอย่างมาก สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ซึ่งภาคการเกษตรจึงเป็นเป้าหมายสำคัญในการนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาประยุกต์ใช้ได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่ การวางแผนการผลิต การคัดเลือกเมล็ดพันธ์ การควบคุมการให้น้ำ การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว การจำหน่าย การคำนวณต้นทุน การทำบัญชีครัวเรือน เพื่อลดความต้องการในการใช้แรงงาน ประหยัดต้นทุนและพลังงาน ควบคุมคุณภาพการผลิต รวมไปถึงการวางแผนการผลิต และการจำหน่ายผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
โครงการนี้จึงเสนอความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุปกรณ์ตรวจจับในงานเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร และการประยุกต์ใช้ การเชื่อมต่ออุปกรณ์อัจฉริยะด้วยระบบอินเทอร์เน็ต ระบบควบคุมไฟฟ้า ความรู้และการประยุกต์ใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้อง และการศึกษาดูงาน ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่นักเรียน นักศึกษา เกษตรกรและประชาชนผู้สนใจทั่วไป
วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่อจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการเป็นเกษตรอัจฉริยะแบบปรับตัว
2) เพื่อประเมินผลการพัฒนาทักษะการเป็นเกษตรอัจฉริยะแบบปรับตัว
3) เพื่อสร้างแนวทางการนำหลักสูตรสู่การเป็น Credit Bank
ผลผลิต
ผลผลิตของการจัดกิจกรรมอบรมหลักสูตร การเป็นเกษตรอัจฉริยะแบบปรับตัว ในระยะที่ 2 บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด 50 คน จำแนกเป็น อาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 23.53 บุคคลภายนอก/ผู้ประกอบการ จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 15.69
และนักศึกษา จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 60.78
ผลลัพธ์
1) ได้แนวทางการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นสู่การเป็น Credit Bank รายวิชาการเป็นเกษตรอัจฉริยะเพื่อเป็นต้นแบบในการขยายผลในรายวิชาเทียบเคียงต่อไป Credit Bank
2) ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการเป็นเกษตรอัจฉริยะแบบปรับตัว ในระยะที่ 2 มีองค์ความรู้และทักษะเกี่ยวกับอุปกรณ์ตรวจจับในงานเกษตรและอุสาหกรรมเกษตรและการประยุกต์ใช้ การเชื่อมต่ออุปกรณ์อัจฉริยะด้วยระบบอินเทอร์เน็ต ระบบควบคุมไฟฟ้า รวมถึงการออกแบบงานระบบการเกษตรร่วมกับการใช้พลังงานทางเลือกได้อีกด้วย Credit Bank
ผลกระทบ
1) มีการขยายผลของกิจกรรมรวมถึงกลุ่มของผู้ที่สนใจเข้าร่วมการอบรมที่เพิ่มขึ้น Credit Bank
2) ผู้ที่เข้าร่วมอบรมและมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอัจฉริยะแบบปรับตัวในมุมมองที่หลากหลาย
3) ผู้ที่เข้าร่วมอบรมได้รับประประกาศนียบัตรเพื่อนำมาใช้ยื่นขอเทียบในระบบคลังเครดิต (Credit Bank)ในรายวิชา 5003501 ระบบควบคุมเครื่องมือและอุปกรณ์อัจฉริยะทางการเกษตร(Agricultural Instrument and Smart Device Control System) เพื่อเทียบเคียง หมวดรายวิชาเลือกเสรี ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีได้
สรุปผลภาพรวม
จากการดำเนินงานทั้งสิ้นตลอดระยะเวลา 1 ปี ส่งผลให้มีการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเพื่อupskill/reskill ให้แก่กลุ่มผู้สนใจในการเป็นเกษตรอัจฉริยะแบบปรับตัว ตลอดจนมีผู้ผ่านการอบรมครบทั้งหลักสูตร(48ชม.) จำนวน 5 คน ที่สามารถนำใบประกาศนีบัตรจากโครงการไปยื่นในระบบคลังเครดิต(Credit Bank) ของมหาวิทยาลัยเพื่อเทียบเคียง หมวดรายวิชาเลือกเสรี ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีได้ ในรายวิชา 5003501 ระบบควบคุมเครื่องมือและอุปกรณ์อัจฉริยะทางการเกษตร(Agricultural Instrument and Smart Device Control System)